วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

3 G

3G คืออะไร?

3G มาจากคำว่า 3rd Generation คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนทีระบบ 2G ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน โดย กสทช. จะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่อนความถี่ 2.1 Hz หรือ 2100MHz ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2555) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในการรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และแข่งขันด้านโทรคมนาคมกับต่างประเทศได้ 

ทำไมต้องเป็น 3G บนคลื่นความถี่ 2100MHz?

เพื่อนๆสงสัยไหม ว่าในเมื่อแต่ละค่ายสามารถนำคลื่นความถี่เดิมมาใช้ได้ แล้วทำไมต้องเป็น 2100MHz ล่ะ? หากสังเกตจะพบว่า ตอนนี้มีผู้ใช้บริการที่ร้องเรียนปัญหาในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ(เยอะมาก!!) ซึ่งเป็นการนำคลื่นความถี่เดิมที่ใช้เดิมบน 2G มาแบ่งใช้สำหรับบริการ 3G ด้วย ส่งผลให้บริการโทรศัพท์ระบบ 2G เริ่มมีปัญหา (อ่าน สัมภาษณ์ รองประธานกสทช)
ดังนั้นการประมูลคลื่น 2.1 GHz (2100MHz) ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นการแก้ปัญหาเดิมที่เกิดจากการนำความถี่ 2G มาทำ 3G แล้วเกิดปัญหาในการโทร และอีกเหตุผลก็คืออุปกรณ์ที่รองรับ 3G แบบ 2.1 GHz (2100MHz) ในท้องตลาดนั้นมีมากกว่า และเป็นคลื่นที่ทั่วโลกส่วนใหญ่จะใช้สำหรับ 3G

เกร็ดความรู้ : คำจำกัดความของ 3G

สำหรับคำจำกัดความของ 3G ก็คือระบบโทรศัพท์เคลื่นที่ในยุคที่ 3 ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระดับ 2Mbps แต่ปกติจะอยู่ที่ 384Kbps ตรงนี้เป็นคำตอบว่า การกำหนดเพดานการใช้งานการเชื่อมต่อดาต้าหากใช้งานจนครบระยะเวลาที่กำหนดที่ความเร็ว 384Kbps นั้นยังถือว่าเป็น 3G อยู่
เมื่อได้ทราบข้อมูลแล้วว่าทำไมถึงเป็น 3G 2100MHz ต่อไป เพื่อนๆจะต้องพิจารณาตัวเครื่อง สมาร์ทโฟน แอร์การ์ด หรือ Mi-Fi ส่วนผู้ให้บริการ ก็คงจะนำเครื่องมาให้บริการจำหน่ายพร้อมซิมและโปรโมชั่น เมื่อเวลานั้นมาถึง (ราคาจะสูงแค่ไหน ต้องรอติดตามชม! >,<)

 3G ในประเทศไทย

ย้อนกลับไปที่การสัมปทานคลื่นความถี่ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือ เริ่มจากระบบ GSM ในยุคก่อน (โทรออก-รับสาย รับส่ง SMS) ก็จะมี AIS, DTAC, TAO (TA Orange ในสมัยนั้น) ต่อมาเป็นยุคของ GPRS จากนั้นต่อกันที่ยุคของ EDGE หรือเรียกเล่นๆว่า 2.5G และมีระบบ W-CDMA ถ้าใครยังจำกันได้ สมัยนั้นมีค่ายมือถือ Thai Mobile ด้วย และหากย้อนความกลับไปก่อนที่ TruemoveH จะเกิด ก็มี Hutch-CAT ให้บริการเครือข่าย CDMA บนความถี่แบบ 1x EV-DO
ในยุค 2G (โทรสนทนาปกติ, รับส่งข้อความ SMS)
- คลื่นความถี่ 900MHz คือ AIS (หลังจากนั้น AIS ก็นำคลื่นความถี่เดียวกันนี้ มาทำ 3G)
- คลื่นความถี่ 850MHz คือ DTAC/Truemove/DPC อย่าจำสับสนกับระบบโทรศัพท์ 1800MHz (ภายหลัง dtac, Truemove ก็ทดลองใช้ 3G บนคลื่นความถี่ 850MHz เหมือนกัน)
- คลื่นความถี่ 1900MHz ได้แก่ Thai Mobile (คือ TOT + CAT นั่นเอง)
- ในขณะที่ Hutch+CAT ให้บริการ CDMA 2000
- และล่าสุด ปีที่แล้ว Truemove + CAT ให้บริการ TruemoveH โดยใช้คลื่นความถี่ 3G เดิมคือ 850MHz
- TOT ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2100MHz แล้วให้ผู้ให้บริการรายต่างๆ อย่าง i-mobile, i-kool เป็นคนทำตลาดให้ แล้วเช่าเสาทำ MNVO  ยุคถัดไปมีคลื่นใหม่คือ 2.3GHz (TOT) และ 2.6GHz ยังไม่มีรายใดเป็นเจ้าของคลื่น ซึ่งตรงนี้คือยุคของ LTE ซึ่งจะก้าวเข้าสู่ยุค 4G Candidate ในที่สุด

3G หล่ออ่ะ!!
ที่นี้ทำไม 3G ต้องแบ่งเป็นหลายคลื่นความถี่ล่ะ?
แล้วทำไมต้องขายเครื่องแยกด้วยล่ะ ในสมัยที่เราโทรออก – รับสายนั้น เรามักจะเลือกซื้อเครื่องพร้อมเบอร์ เพราะ AIS เป็นคลื่น 900MHz, Dtac, Truemove เป็นคลื่น 1800MHz และตอนนั้นมี DPC หรือ GSM 1800 เป็นคลื่น 1800MHz สมชื่อ แต่พอเป็นยุค 3G แล้วก็ต้องเลือกอุปกรณ์ให้ตรงกับคลื่นความถี่
จากสาเหตุที่เครือข่ายให้บริการ 2G และ 3G คนละความถี่ ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ จำเป็นจะต้องนำตัวเครื่องอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือมาจำหน่ายเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้บนเครือข่ายของตน และบางรุ่นหากผู้ให้บริการไม่ได้นำเข้ามาขายอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้ก็จะไปหาเครื่องนอกที่รองรับเครือข่ายของตนมาใช้งานแทน ดังนั้นจะเห็นว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G นั้นจะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์การใช้งานของเรา หากใครยังจำได้ iPhone 3GS ไม่สนับสนุน 3G 900MHz ของ AIS ดังนั้นผู้ใช้ iPhone 3GS จะใช้งาน 3G ได้เต็มประสิทธิภาพเฉพาะบน 3G dtac และ truemove เท่านั้น เช่นเดียวกับที่หลายๆคนเคยสงสัยว่า ทำไมสมาร์ทโฟนจึงมีการแยกขายเครื่องแต่ละผู้ให้บริการ เนื่องจากมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับความถี่ 3G ของแต่ละค่ายนั่นเอง
และจุดนี้เองก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2100MHz เพราะในตอนนี้ ต่างคนต่างนำคลื่นความถี่เดิม มาให้บริการ 3G ก่อน เนื่องจากใกล้หมดระยะเวลาสัมปทานคลื่นแล้ว หากมีการประมูลคลื่นความถี่ใหม่ ก็จะมีตัวเครื่องและอุปกรณ์ที่รองรับ 3G ก็จะมากขึ้น
เมื่อเข้าใจพื้นฐานแล้ว ว่าแต่ละค่ายตอนนี้ใช้คลื่นความถี่ใดอยู่ ก็ลองมาดูว่า คลื่น 2100MHz นั้นดีอย่างไร อย่างแรกคือเป็นความถี่สากลที่โอเปอเรเตอร์มือถือทั่วโลกให้บริการ 3G เพราะปกติแล้ว มือถือ แอร์การ์ด มักจะรองรับ 900/2100MHz, 850/2100MHz คือไม่ว่ารุ่นใด ก็รองรับ 3G 2100MHz นั่นหมายถึงว่า เสรีในการนำเครื่องรุ่นใดมาใช้ก็ได้หากรองรับและไม่ติดล็อก

4 จี

4G คืออะไร?
Alwin Toffler นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า “อนาคตมักจะมาเร็วเสมอ” การสื่อสารไร้สายก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยขณะที่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กำลังขยายไปทั่วโลก แต่ก็ยังช้ากว่าแผนที่วางไว้ประมาณสองปี และขณะนี้กลุ่มของเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ใหม่ ที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ 4G


สิ่งที่น่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่าย 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่การนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G โดยสรุปแล้วแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G มีดังนี้ คือ ความสามารถในการทำงานของ 3G อาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการของแอพพลิเคชั่นสูงๆ อย่างเช่น มัลติมีเดีย, วิดีโอแบบภาพเคลื่อนไหวที่เต็มรูปแบบ (Full-motion video) หรือการประชุมทางโทรศัพท์แบบไร้สาย (Wireless teleconferencing) ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 3G โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากด้วย
มาตรฐานที่ซับซ้อนของ 3G ทำให้ยากในการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย แต่เราต้องการใช้งานแบบเคลื่อนที่และพกพาไปได้ทั่วโลก
นักวิจัยต้องการให้รูปแบบการส่งคลื่นทางเทคนิคมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า 10 Mbps ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโครงสร้างของ 3G
ระบบ 4G เป็นระบบเครือข่ายแบบ IP digital packet ทำให้สามารถส่ง Voice และ Data ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยราคาการให้บริการที่ถูกมากและมีรูปแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G ได้มีการพัฒนาโดยเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย โดยการนำไบโอแมทริกซ์มาผสมผสาน ทำให้สามารถซื้อขายกันได้โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Mobile Internet และยังสามารถหักบัญชีเงินในธนาคาร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการได้ทันที ระบบไบโอแมทริกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเห็นอย่างชัดเจนในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G นั่นคือในธุรกิจ Mobile Commerce นั่นเอง

ซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย นับเป็นกลุ่มซอฟแวร์ที่จะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบ 4G โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลถูกพัฒนาให้สูงกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที ตัวอย่างเช่น คุณอาจดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอมาไว้ในรถยนต์ ก่อนออกเดินทางไกล เพื่อว่าจะได้มีหนังดีๆ รวมทั้งข้อมูลการท่องเที่ยวไว้ดูบ้างในระหว่างเดินทาง นั่นคือธุรกิจ Software house และ ธุรกิจเกี่ยวกับการสร้าง Content ในระดับ SME ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะมีโอกาสในธุรกิจสื่อมัลติมีเดียบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เป็นอย่างมาก

ลองนึกภาพการที่คุณสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อซื้อน้ำอัดลมจากตู้ขายอัตโนมัติ ใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวกันสั่งซื้ออัลบั้มเพลงล่าสุดและดาวน์โหลลงเครื่องเล่น MP3 ได้โดยตรง หรือการที่นักท่องเที่ยวสามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อหาจองโรงแรมที่ใกล้ที่สุด และราคาเหมาะสมที่สุดขณะที่นั่งรถแท็กซี่

โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 4G จะมีความสามารถและสมรรถนะสูงมาก ในระดับที่สามารถชมภาพวิดีโอกันแบบสดๆได้ พร้อมคุณภาพระดับ DVD ตามการเปิดเผยของซัมซุงฯ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ทางซัมซุงฯได้เพิ่มบุคลากรในแผนกอาร์แอนด์ดี ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ 4G แล้ว

มีการคาดหวังถึงความสะดวกสบายและประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อบริการ M-Commerce บนระบบ 4G จะเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย ทำให้เกิดแนวคิดมากมายในการทำ M-Commerce เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด เช่นแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายข้อมูลออกไปในระยะใกล้ โดยมีเป้าหมายคือผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเดินผ่านร้านขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คุณอาจจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ๆ ที่มีจำหน่ายในร้าน และคุณก็สามารถที่จะตรวจสอบราคาสินค้า เปรียบเทียบราคากับร้านอื่นๆ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด หรือเมื่อคุณนั่งรถไฟฟ้าผ่านสถานที่ท่องเที่ยวโทรศัพท์เคลื่อนที่4G ของคุณก็จะได้รับแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ของบริเวณนั้นบนจอของคุณ อีกทั้งข้อความโฆษณาของโรงแรมหรือที่พักที่อยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ เป็นต้น

ขณะนี้ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี จับมือกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีหวังสร้างมาตรฐานร่วม 4G แห่งเอเชีย โดยชูคุณสมบัติเด่น รับส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที พร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชั่น 6 หรือ “ไอพีวี6” (IPv 6) ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขี้นเป็นรายแรก และมีแผนที่จะผลักดันให้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลก

จะเห็นได้ว่าตอนนี้เหล่าผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนักพัฒนาเริ่มตื่นตัวกับเทคโนโลยีใหม่กันแล้ว และดูเหมือนการแข่งขันที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่า 3G มาก จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปอีกแล้ว แต่น่าจะเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวแบบก้าวกระโดด จนธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอาจปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง




จีพีอาร์เอส

 
 

หลังจากที่วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการพัฒนาด้านการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ
และ None Voice Application อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ทุกรูปแบบอย่างไร้
ขีดจำกัดในระหว่างเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียงหรือข้อมูล ดังนั้นผู้ให้บริการ
เครื่อข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงได้พัฒนาและนำเทคโนโลยี
อย่างที่เห็นกันในทุกวันนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น
  • 1: Short Message Service ( SMS ) - การใช้เทคโนโลยี่ SMS หรือการส่งข้อความ ที่กำลังได้รับความนิยมกันทั้วไปมากขึ้นทุกวันในบ้านเราขณะนี้
    - Sim Tool Kit โดยใช้ Sim Card ที่ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อน
    ที่ได้พัฒนาและเพิ่มเติมบริการไว้ให้ใช้งานและบริการต่างๆง่ายมากยิ่งขึ้น
    ดังในบ้านเราที่เห็นอยู่เป็นต้นว่า บริการ mobileLIFE จากเอไอเอส

  • 2 : Circuit Switched Data ( CSD )
    - WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่สามารถ Connect กับโลก
    ของข่าวสารข้อมูลกับ Wap Site ต่างๆ ได้ทั้วโลกแม้กระทั้งในรูปแบบของ Wireless Internet
    แต่อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังเล็งเห็นว่า การโอนถ่ายสื่อสารข้อมูลของ
    โทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ยังมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่ง (9.6 - 28.8 kbps)
    และรวมไปถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถทำการรับ
    จึงได้เริ่มพัฒนาแก้ไขเพื่อที่จะเพิ่มเติมบริการตรงส่วนบกพร่องนี้ให้ดีขึ้น
    จึงได้เริ่มนำเทคโนโลยี่ทีเรียกว่า GPRS ( General Packet Radio Service)
  • 3 : General Packet Radio Service ( GPRS )
    โดยคุณสมบัติเด่นหลักๆ ของระบบ GPRS นี้เห็นจะมีคือ

    - การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ-ส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้สูงถึง 9 - 40 kbps ซึ่งจะทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อ
    กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมรวมถึงการ Down load/ Up load ได้ง่ายยิ่งขึ้น

    - Always On การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไป แม้ในขณะที่มีสายติดต่อเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง

    - Wireless Internet ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Terminal เช่น PDA หรือ Note Book
    สามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่
ว่าด้วยเรื่อง GPRS คืออะไร ? GPRS เป็นตัวย่อจากภาษาอังกฤษ " General Packet Radio
Service " บริการต่างๆที่ผ่านทาง Radio Interface ในระหว่างผู้ใช้ต้นทางและปลายทางซึ่งไม่ว่าจะเป็น
Application Server หรือแม้แต่ตัวโทรศัพท์เคลือนที่เองก็ตามจะถูกแปลงเป็น Packet ซึ่งมี IP Address
กำกับอยู่ภายใน ซึ่งจะไม่เหมือนเดิมที่เคยใช้กัน ( เดิมที่เคยใช้กันคือระบบ-Radio Frame ทีใช้กันใน
การส่งข้อมูลเสียงพูดบนระบบ GSM )

อย่างไรก็ดี GPRS ไม่ได้เป็นลักษณะที่จะสามารถให้บริการได้ด้วยตัวของระบบเอง แต่ตัวมันเองเป็นเพียงแค่ Bearer ให้กับ Application ต่างๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วที่เพิ่มมากกว่าปกติในระบบ GSM ที่เคยรองรับอยู่เดิมมาก่อน และระบบ GPRS จะต้องต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็น IP Network อีกต่อหนึ่ง

ดั้งนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะเปิดให้ใช้ในระบบ GPRS ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ประกอบด้วยหน่วยหลักๆ 2หน่วยด้วยกันคือ
1 / SGSN(Serving GPRS Supports Node)
2 / GGSN(Gateway GPRS Support Node)
โดยทั้งสองหน่วยหลักขององค์ประกอบนี้จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่นๆ เป็นตัวช่วย
เพื่อไปร่วมใช้Radio Interface จาก Base Station โดยผ่านตัวควบคุมที่เรียกว่า PCU (Packet
Control Unit ) ที่ติดตั้งไว้ที่ BSC (Base Station Controller) อันทั้งนี้อาจมองได้ว่า GPRS
Network เป็นอีก Network หนึ่ง ซึ่งเข้าถึง Mobile Phone ผ่านทาง Radio Interface
ของระบบ GSM Network เดิม โดยเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการรับส่งข้อมูลเป็น Packet โดยตรง









ประวัติส่วนตัว


นาย ณัฐวุฒิ อุทัยช่วง
ชั้น 4/3
ชื่อเล่น เจมส์
เกิดวันที่ 22 ตุลาคม 2540
อยุ่บ้านเลขที่ 48/1 ม.1
ต.สวนหลวง อ.กระทุ่มแบน
จ. สมุทรสาคร
74110
เกิดที่ โรงพยาบาล สมุทรสาคร
อาหารที่ชอบ ข้าวผัด
อาหารที่ไม่ชอบ แกงข่าไก่
วิชาที่ชอบ คณิตศาสตร์
วิชาที่ไม่ชอบ  วิทยาศาสตร์